CAGE FREE EGG PROMOTION
Sustainability has become a global priority, with consumers worldwide increasingly demanding more sustainable and ethical food production methods. This trend is especially notable in Asia, where the demand for cage-free eggs is rapidly growing due to health and ethical considerations. Regions like the European Union have implemented laws to protect egg-laying hens, banning conventional battery cages since 2012, with the USA and other regions following suit.
As consumer awareness increases and corporations adapt to changing demands, the shift from cage-based to cage-free egg production systems is accelerating, leading to a transformation in the market landscape. To support this transition, CATALYST, an international social enterprise organization, along with its partners—the National Science and Technology Development Agency of Thailand (NSTDA), University College Dublin, Ireland, and the University of Bristol, UK—conducted a program titled “Capacity Building on Cage-Free Egg Production Systems and Layer Hen Welfare.” This “Training of Trainers” (ToT) session took place in Bangkok, Thailand, in November 2023.
Following this successful event, CATALYST is now offering scholarships to government officials from various Asian countries to further disseminate knowledge and skills in cage-free egg production systems and layer hen welfare. The scholarships are designed to enhance individuals’ capability and support the growth of cage-free production systems. In addition, CATALYST is providing technical assistance to farms interested in transitioning to cage-free production, in response to the evolving consumer demands and market dynamics discussed above.
ไข่สุขใจไก่ไร้กรง
“ความยั่งยืน” เป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสำคัญ ซึ่งหมายรวมถึงระบบการผลิตอาหารที่ผู้บริโภคเรียกร้องถึงประเด็นความยั่งยืนและจริยธรรมด้วยเช่นกัน
การเลี้ยงไก่ไข่ด้วยวิธีที่ใช้ กรงตับ (battery cage) ที่ขังไก่อยู่ในกรงแคบตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย ทำได้แค่ขยับปีกนิดหน่อย ได้ถูกปฏิเสธจากผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ระบบการเลี้ยงแบบ กรงตับนี้ ทำให้แม่ไก่ไม่สามารถแสดงออกซึ่งพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ส่งผลให้แม่ไก่มีความเครียดสูงเจ็บป่วยง่ายนำไปสู่การให้ยาปฏิชีวนะแบบหว่าน (antibiotic prophylaxis) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเกิดเชื้อดื้อยา (anti-microbial resistance) และด้วยการเลี้ยงที่แออัดยัดเยียดแบบนี้ ก็อาจนำไปสู่การเกิดโรคระบาดขนาดใหญ่ (pandemic) ได้ในอนาคต เช่น โรคหวัดนก
สหภาพยุโรปได้ทำการสำรวจฟาร์ม 5000 แห่งในประเทศสมาชิกยุโรปพบว่า การเลี้ยงไก่ระบบกรงตับนี้นำไปสู่การปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella อย่างน่าเป็นห่วงด้วยการขับเคลื่อนของภาคประชาชนการปฏิเสธจากผู้บริโภคสหภาพยุโรปออกกฏหมายห้ามการเลี้ยงด้วยวิธีกรงตับ (battery cage) นี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 ประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกก็กำลังตรากฏหมายห้ามการเลี้ยงด้วยกรงตับนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ
ดังนั้นในเวลาอันไม่นานนี้ระบบการเลี้ยงในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นระบบที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง(cage-free system) ในที่สุด ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทย ไม่ว่าภาครัฐ เอกชนและเกษตรกร จะต้องเตรียมความพร้อมแต่เนิ่น ๆ กับบริบทของตลาดที่จะเปลี่ยนไปและกระแสโลกที่พัดแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
บริษัท คะตะลิสต์ จำกัด องค์กรนานาชาติที่ทำงานภายใต้แนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคม (international social enterprise) ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช) มหาวิทยาลัยวิทยาลัยดับลิน ประเทศไอร์แลนด์, และมหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศอังกฤษ ได้มีการจัดอบรมที่เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในระบบการผลิตไข่แบบไร้กรงและสวัสดิภาพของไก่ไข่ “Training of Trainers” (ToT) จัดขึ้น ณกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา เพื่อการยกระดับขีดความสามารถ ในระบบการเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ขังกรง (cage-free eggs system) ในประเทศไทย โดยจะทำการสร้างผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ขังกรงในประเทศนั้น ๆ ด้วยการจับ มือกับภาครัฐไทยรวมถึงการยกระดับความสามารถของฟาร์มไก่ไข่ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับนานาชาติและตอบสนองต่อผู้บริโภคและตลาดที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ต่อผู้บริโภคที่เรียกร้องถึงเรื่อง ความยั่งยืน และ จริยธรรมในการปฏิบัติต่อสัตว์ เพราะทุกสิ่งที่เราทำมันจะย้อนกลับมาสู่ตัวเราเอง อันเป็นแนวคิดในการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ของ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม